วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563

สรุป

สรุป กลบทสิริวิบุลกิติ






ประวัติและที่มา   
        กลบทสิริวิบุลกิตติเป็นวรรณคดีที่เป็นหนังสือกลอนเรื่องแรกในสมัยอยุธยา ได้เค้าโครงมาจาก สิริวิปุลกิติชาดก ซึ่งเป็นชาดกหนึ่งในปัญญาสชาดก

ผู้แต่ง
   หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) เป็นผู้แต่ง มีตำแหน่งเป็นโหรในกรมพระราชวังบวรฯ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดว่าเป็นพระองค์ใด

วีธีการแต่งและความมุ่งหมายในการแต่ง
     เป็นกลอนกลบท 86 ชนิด เป็นวิธีการแต่งกลอนที่ยากและซับซ้อนโดยเพิ่มข้อบังคับในการแต่งให้ดียิ่งขึ้นกว่ากลอนธรรมดา ทำให้แต่งยากขึ้น และเป็นทางแสดงฝีมือของผู้แต่ง
     ความมุ่งหมาย เพื่อเป็นพุทธบูชา และเป็นอานิสงส์ให้สำเร็จอรหันต์

เนื้อเรื่อง
      ดำเนินเรื่องตามปัญญาสชาดก พระโพธิสัตว์มาเสวยชาติเป็นโอรสท้าวยศกิติและนางศิริมดี แห่งนครจัมบาก เมื่อนางศิริมดีทรงพระครรภ์ ทรงพระสุบินว่า ดาบสเหาะนำแก้วมาให้ โหรทำนายว่าจะได้ โอรส แต่พระสวามีจะต้องพลัดพรากจากเมือง ต่อมาท้าวพาลราชยกทัพมาล้อมเมือง เพื่อมิให้มีการรบพุ่งเป็นที่เดือดร้อนแก่ไพร่บ้านพลเมือง ท้าวยศกิติกับมเหสีเสด็จหนีไปผนวชที่เขาวิบุลบรรพต แต่ก็ถูกพรานป่าหักหลัง นำศัตรูไปจับท้าวยศกิติมาทรมาน เมื่อโอรสคือสิริวิบุลกิติเจริญวัย จึงติดตามไปและขอรับโทษแทนบิดา แต่จะประหารกุมารอย่างไรก็ไม่ตาย ท้าวพาลราชกลับถูกธรณีสูบ สิริวิบุลกิติก็ครองเมืองเป็นสุข ในตอนท้ายเรื่อง เป็นธรรมดาของชาดก ซึ่งย่อมจบลงด้วยดี

ความเชื่อ
      ความเชื่อทศพิธราชธรรม
      ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องทศพิธราชธรรมในตอนที่ท้าวยศกิติจึงรับสั่งแก่มเหสีและบรรดา  สนมหมื่นหกพันนางว่า หากใครมีโอรสก็จะได้เลื่อนฐานะเป็นเอกอัครมเหสี นางศิริมดีได้สมาทานศีลและตั้งสัจอธิษฐานว่าหากรักษาศีลได้ไม่บกพร่องขอให้ได้มีโอรส
        ความเชื่อเรื่องความกตัญญู
        ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องความกตัญญูในตอนที่สิริวิบุลกิติได้ลามารดาเพื่อไปช่วยท้าวยศกิติเมื่อไปถึงท้าวยศกิติ์กำลังจะถูกประหารชีวิต สิริวิบุลกิติเข้าไปขอให้เพชฌฆาตประหารตนแทน เกิดเหตุมหัศจรรย์เมื่อเพชฌฆาตจะใช้ดาบประหารสิริวิบุลกิติดาบก็หัก เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้นำช้างไปเหยียบ ช้างกลับหันหน้าหนีไม่ยอมเหยียบ เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้ขุดหลุมและจุดไฟเผาสิริวิบุลกิติในหลุม ก็ปรากฏว่ามีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้นำสิริวิบุลกิติไปทิ้งลงเหว ด้วยบุญญานุภาพที่สร้างสมไว้
      ความเชื่อเรื่องพญานาคราช
      ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องพญานาคราช ในตอนที่พญานาคจึงยกทัพมาช่วย แผ่นดินได้แยกเป็นช่องสูบเจ้าเมืองผู้โหดร้ายลงไปในนรกอเวจี
       ความเชื่อเรื่องความไม่จีรัง
       ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องความไม่จีรังในตอนที่โหรทูลว่านางจะมีโอรสที่มีเกียรติยศสูงยิ่ง แต่นางจะต้องพลัดพรากจากบ้านเมือง พลัดพรากจากสามีและบุตรและเสียชีวิตด้วยและตอนที่ ท้าวยศกิติได้มอบราชสมบัติให้โอรส ศิริวิบุลกิติกลับไปป่าเพื่อรับมารดา แต่นางศิริมดีเศร้าโศกเสียใจจนเสียชีวิตไปก่อน

คุณค่า
๑.เป็นตัวอย่างการเขียนคำกลอนที่พลิกแพลงและเป็นแบบอย่างของการเขียนกลบทในสมัยต่อมานอกจากนี้ยังมีความรู้เรื่องโหราศาสตร์แทรกอยู่ด้วย
๒.เพื่อเป็นพุทธบูชา และเป็นอานิสงส์ให้สำเร็จอรหันต์
๓.เป็นวรรณคดีที่แต่งเป็นกลอนกลบทเรื่องแรกในวรรณคดีไทย ผู้แต่งใช้กลบทดำเนินเรื่องทั้งสิ้นซึ่งนับว่าแปลกประมวลกลบททั้ง ๘๖ ชนิด นับเป็นตำราของการแต่งกลบทได้เป็นอย่างดี เนื้อเรื่องดำเนินตาม บัญญาสชาดก ชื่อวิบุลกิติชาดก
๔.เป็นวรรณคดีเล่มเดียวที่ผู้แต่งสามารถรวบรวมกลบทไว้มากที่สุด

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

คำนำ


   

คำนำ


      การศึกษาวรรณคดีสมัยอยุธยาเรื่องกลบทสิริวิบุลกิติ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาแนวทางการศึกษาวรรณคดีไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อด้านความกตัญญู ความไม่จีรัง พญานาค เเละทศพิธราชธรรม ในเรื่องกลบทสิริวิบุลกิติ นี้กล่าวถึงการปกครองบ้านเมือง ความกตัญญูของลูกที่ไปช่วยบิดา จากการที่จะโดนประหาร เเละได้มีพญานาคได้เข้ามาช่วยเหลือเพราะเป็นบุคคลที่มีความกตัญญูต่อบิดาเเละบ้านเมือง
       ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blogger นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังศึกษาหาข้อมูล หาเกิดข้อผิดพลาประการใดผู้จัดทำขอน้อมรับ และขออภัยมา ณ ที่นี้


                                                                                                                                     คณะผู้จัดทำ






คุณค่าของกลบทสิริวิบุลกิติ

  คุณค่าของกลบทสิริวิบุลกิติ


๑.เป็นตัวอย่างการเขียนคำกลอนที่พลิกแพลงและเป็นแบบอย่างของการเขียนกลบทในสมัยต่อมานอกจากนี้ยังมีความรู้เรื่องโหราศาสตร์แทรกอยู่ด้วย
๒.เพื่อเป็นพุทธบูชา และเป็นอานิสงส์ให้สำเร็จอรหันต์
๓.เป็นวรรณคดีที่แต่งเป็นกลอนกลบทเรื่องแรกในวรรณคดีไทยผู้แต่งใช้กลบทดำเนินเรื่องทั้งสิ้นซึ่งนับว่าแปลกประมวลกลบททั้ง ๘๖ ชนิด นับเป็นตำราของการแต่งกลบทได้เป็นอย่างดี เนื้อเรื่องดำเนินตาม บัญญาสชาดก ชื่อวิบุลกิติชาดก
๔.เป็นวรรณคดีเล่มเดียวที่ผู้แต่งสามารถรวบรวมกลบทไว้มากที่สุด มีกลบททั้งที่ต้องอ่านซํ้าคำ ณ ตำแหน่งต่างๆ ในวรรค และแบบเลือกคำ แบ่งวรรคให้เหมาะสมกับบท เช่น สุนทรโกศล วิมลวาที อธิบดีอักษร ทศประวัติ นาคบริพันธ์ วสันตดิลกวาที อินทาธิกร มาลินีโสภิต กระจายนะมณฑล งูกระหวัดหาง
















วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

ความเชื่อกลบทสิริวิบุลกิติ


ความเชื่อกลบทสิริวิบุลกิติ
       
           ๑.     ความเชื่อทศพิธราชธรรม



        ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องทศพิธราชธรรมในตอนที่ท้าวยศกิติจึงรับสั่งแก่มเหสีและบรรดา  สนมหมื่นหกพันนางว่า หากใครมีโอรสก็จะได้เลื่อนฐานะเป็นเอกอัครมเหสี นางศิริมดีได้สมาทานศีลและตั้งสัจอธิษฐานว่าหากรักษาศีลได้ไม่บกพร่องขอให้ได้มีโอรสดังเช่นในอดีตมีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ทรงเป็นตัวอย่างของคุณธรรมสิบประการของผู้ปกครองคือพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. ๒๓๙-พ.ศ. ๓๑๑) ซึ่งปกครองอินเดียมา ๔๑ ปี ในช่วงต้นของรัชกาลทรงเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ชนะการต่อสู้หลายครั้งและยังคงขยายอาณาจักรอินเดียในช่วงแปดปีแรกของการครองราชย์ของพระองค์ หลังจากการสู้รบอย่างนองเลือด ครั้งหนึ่งกษัตริย์ได้ทรงเล็งเห็นชัยชนะของกองทัพของพระองค์และได้ทรงเห็นการสังหารรอบ ๆ พระองค์อย่างมีชื่อเสียงแล้วทรงตรัสออกมาว่า "ข้าฯได้ทำอะไรไปแล้ว?" ต่อจากนั้นเขาเลื่อมใสพระพุทธศาสนา เป็นที่รู้จักในนาม 'ธรรมาโศก' หรือ "อโศกผู้ถือธรรมะ" พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการโปรดสัตว์ มีการสร้างโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยเพื่อให้ผู้คนและสัตว์ และสร้างระบบชลประทานเพื่อการค้าและการเกษตร พระราชายังสละการใช้ความรุนแรงยุติการสู้รบทางทหารกับเพื่อนบ้านของพระองค์แทนที่จะส่งพระภิกษุและแม่ชีไปต่างประเทศเพื่อเผยแผ่คำสอนทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับภูมิปัญญาและความเมตตา อันที่จริงพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชที่เป็นพระภิกษุและภิกษุณีพาพระพุทธศาสนาไปยังศรีลังกาซึ่งยังคงเป็นความเชื่อที่โดดเด่นมาจนถึงทุกวันนี้ นี่ไม่ได้เป็นการบอกว่าพระองค์ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาด้วยพระราชทรัพย์ของศาสนาอื่น ๆ อย่างไรก็ตามในขณะที่พระองค์ยังทรงสนับสนุนความอดทนและความเข้าใจระหว่างลัทธิต่าง ๆ และกลุ่มชาติพันธุ์ พระอโศกมหาราชนั้นเป็นที่จดจำของบรรดาพุทธศาสนิกชนและผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธเหมือนเป็นตัวอย่างของผู้ปกครองที่มีความเห็นอกเห็นใจและความยุติธรรมผู้ซึ่งอาศัยอยู่ตามคุณธรรมของผู้ปกครองทั้งสิบประการ

๒.ความเชื่อเรื่องความกตัญญู

ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องความกตัญญูในตอนที่สิริวิบุลกิติได้ลามารดาเพื่อไปช่วย
ท้าวยศกิติเมื่อไปถึงท้าวยศกิติ์กำลังจะถูกประหารชีวิต สิริวิบุลกิติเข้าไปขอให้เพชฌฆาตประหารตนแทน เกิดเหตุมหัศจรรย์เมื่อเพชฌฆาตจะใช้ดาบประหารสิริวิบุลกิติดาบก็หัก เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้นำช้างไปเหยียบ ช้างกลับหันหน้าหนีไม่ยอมเหยียบ เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้ขุดหลุมและจุดไฟเผาสิริวิบุลกิติในหลุม ก็ปรากฏว่ามีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้นำสิริวิบุลกิติไปทิ้งลงเหว ด้วยบุญญานุภาพที่สร้างสมไว้
       กตัญญู เป็นธรรมอันเป็นมงคลที่ ๒๕ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้โดยเน้นให้นำไปพัฒนาคุณสมบัติของคนดีแปลตามตัวหนังสือคือผู้รู้ว่า คนอื่นทำความความดีอะไรไว้แก่ตนบ้าง เอาความหมายสั้นๆ ว่า "ผู้รู้คุณคน" การรู้บุญคุณคนหรือรู้อุปการคุณที่ผู้อื่นทำให้ตนเองนับถือเป็นหลักแห่งความยุติธรรมและความเป็นธรรมอย่างหนึ่งในสังคมมนุษย์ เพราะเป็นการสอดคล้องกับหลักคำสอนว่า การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ มีคนทำดีให้กับเราแล้ว และเราได้รับผลประโยชน์จากการทำดีของเขา เป็นต้นว่า ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข แต่เรารับรู้แต่ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่รับรู้คุณความดีของเขา ย่อมถือได้ว่าไม่ยุติธรรมต่อกัน

๓.ความเชื่อเรื่องพญานาคราช





                     เเหล่งที่มา https://www.youtube.com/watch?v=nab_0oMzGXo
         ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องพญานาคราช ในตอนที่พญานาคจึงยกทัพมาช่วย แผ่นดินได้แยกเป็นช่องสูบเจ้าเมืองผู้โหดร้ายลงไปในนรกอเวจี 
          ตำนานความเชื่อเรื่องพญานาคมีความเก่าแก่มาก ดูท่าว่าจะเก่ากว่าพุทธศาสนาอีกด้วย สืบค้นได้ว่ามีต้นกำเนิดมาจากอินเดียใต้ ด้วยเหตุจากภูมิประเทศทางอินเดียใต้เป็นป่าเขาจึงทำให้มีงูอยู่ชุกชุม และด้วยเหตุที่งูนั้นลักษณะทางกายภาพคือมีพิษร้ายแรง งูจึงเป็นสัตว์ที่มนุษย์ให้การนับถือว่ามีอำนาจ ชาวอินเดียใต้จึงนับถืองู

๔.ความเชื่อเรื่องความไม่จีรัง

ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องความไม่จีรังในตอนที่โหรทูลว่านางจะมีโอรสที่มีเกียรติยศสูงยิ่ง แต่นางจะต้องพลัดพรากจากบ้านเมือง พลัดพรากจากสามีและบุตรและเสียชีวิตด้วยและตอนที่ ท้าวยศกิติได้มอบราชสมบัติให้โอรส สิริวิบุลกิติกลับไปป่าเพื่อรับมารดา แต่นางศิริมดีเศร้าโศกเสียใจจนเสียชีวิตไปก่อน
เราต่างรู้ว่าชีวิตคนเรา ไม่จีรังยั่งยืน มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง หรือชื่อเสียง ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ไม่มีสักอย่างที่ยังคงอยู่ตลอดไป แม้ตัวได้ลาจากโลกนี้ไปแล้ว ถึงจะเป็นบุคคลสำคัญระดับโลกก็ตาม คนอาจจะพูดถึงในช่วงแรกๆ แต่หลังจากนั้นทุกอย่างก็จะเลือนหายไปช้าๆ เราควรปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อเตรียมรับมือกับความไม่จีรังยั่งยืน




                เเหล่งที่มา

              1..ttps://www.dol.go.th/ethics/Pages/%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%
2..https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/122431.html
4. https://www.sanook.com/horoscope/17105


วิธีการแต่งและความมุ่งหมายในการแต่งกลบทสิริวิบุลกิติ

  วิธีการแต่งและความมุ่งหมายในการแต่งกลบทสิริวิบุลกิติ 


1. กลบทกบเต้นต่อยหอย 2. คุณบท 3.กลบทมธุรสวาที 4 . กลบทสิงหฬวาท 5. กลบทสบัดสบิ้ง 6. กลบทจตุรงคนายก 7. กลบทนารายณ์ทรงเครื่อง 8. กลอนลิลิต 9. กลบทนาคบริพันธ์ 10. กลบทธงนำริ้ว 11. กลบทอักษรบริพันธ์ 12. กลบทรักร้อย 13. กลบทกินรเก็บบัว 14. กลบทพยัคฆ์ข้ามห้วย 15. กลบทสิงห์โตเล่นหาง 16. กลบทตะเข็บไต่ขอน 17. กลบทดุริยางคจำเรียง 18. กลบทก้านต่อดอก 19. กลบทวัวพันหลัก 20. กลบทระลอกแก้วกระทบฝั่ง 21. บังคับให้ใช้แต่ ก กา 22. บังคับให้ใช้แต่ ก กา กน 23. บังคับให้ใช้แต่ ก กา กน กง 24. บังคับให้ใช้แต่ ก กา กน กง กด 25. บังคับให้ใช้แต่ ก กา กน กง กด กก 26. บังคับให้ใช้แต่ ก กา กน กง กก กด กบ 27. บังคับให้ใช้แต่ ก กา กน กง กก กด กบ กม 28. กลบทอักษรกลอนตาย 29. ตรีพิธพรรณ์ 30. กลบทสารถีชักรถ 31. กลบทหงษ์คาบพวงแก้ว 32. กลบทกวางเดิรดง 33. กลบทสร้อยสน 34. กลบทอักษรสังวาศ 35. กลบทประดับ 36. กลบทมยุราฟ้อนหาง 37. กลบทหงสษ์ทองลีลา 38. กลบทจตุรงคประดับ 39. กลบทบุษบงแย้มผกา 40 กลบทภุมรินเชยทราบเกสร 41. กลบททศประวัติ 42. กลบทกะแตไต่ไม้ 43. กลบทอักษรล้วน 44. กลบทกบเต้นสามตอน 45. กลบทพระจันทร์ทรงกลด 46. กลบทยัติภังค์ 47. กลบทอักษรล้วน 48. กลบทเบญจวรรณห้าสี 49. กลบทอักษรสลับล้วน 50. กลบทช้างชูงวง 51. กลบทนาคเกี้ยวกระวัติ 52. กลบทเสือซ่อนเล็บ 53. กลบทงูกระหวัดหาง 54. กลบทจตุรงคะยมก 55. กลบทคุลาซ่อนลูก 56. กลบทกบเต้นสลักเพ็ชร์ 57. กลบทมังกรคายแก้ว 58. กลบทอักขระโกศล 59. กลอักษรมีกลบทงูกินหาง 60. กลบทจักรวาฬ 61. กลบทนาคราชแผลงฤทธิ์ 62. กลอักษรถอยหลังเข้าคลอง 63. กลบทไม่มีชื่อ 64. กลบทพิณประสารสาย 65. กลบทฉัตร์สามชั้น 66. กลบทม้าลำพอง 67. กลบทสุนทรโกศล 68. กลอักษรมีกลบทคมในฝัก 69. กลบทวิมลวาที 70. กลบทอธิบดีอักษร 71. กลอักษรกลมกลืนกลอน 72. กลบทถาวรธิรา 73. กลบทโสภณาอนุกูล 74. กลอักษรมีกลบทลิ้นตะกวดคะนอง 75. กลบทตรียะมก 76. กลบทอุภะโตโกฏิวิลาส 77. กลบทบัวบานกลีบ 78. กลอักษรมีกลบทดอกไม้พวงคำน้อง 79. กลบทกระจาย นะ มณฑล 80. กลบทกบเต้นกลางสระบัว 81. กลบทอินทาธิกร 82. กลบทบวรโตฎก 83. กลบทวสันตดิลกวาที 84. กลบทมาลินีโสภิต 85. กลบทวิกลิดสทสา และ 86. กลบทนกกางปีก








เรื่องย่อกลบทสิริวิบุลกิติ

 เรื่องย่อกลบทสิริวิบุลกิติ

           ท้าวยศกิติครองเมืองจัมปาก มีมเหสีมีนามว่าศิริมดี แต่ไม่มีโอรสธิดา บรรดาเสนาอำมาตย์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ได้พากันมาเฝ้าขอให้ทรงหาทางที่จะมีผู้สืบราชสมบัติ ท้าวยศกิติจึงรับสั่งแก่มเหสีและบรรดาสนมหมื่นหกพันนางว่า หากใครมีโอรสก็จะได้เลื่อนฐานะเป็นเอกอัครมเหสี นางศิริมดีได้สมาทานศีลและตั้งสัจอธิษฐานว่าหากรักษาศีลได้ไม่บกพร่องขอให้ได้มีโอรส ทำให้แท่นบัณฑุกัมพลของพระอินทร์สั่นไหวและร้อนขึ้น พระอินทร์จึงไปอัญเชิญพระโพธิสัตว์ให้จุติลงมาปฏิสนธิในครรภ์ของนาง นางศิริมดีนอนหลับและฝันว่าดาบสจากเขาวิบูลบรรพตนำแก้วมาถวาย แก้วนี้มีรัศมีโชติช่วง นางศิริมดีได้เล่าความฝันให้ท้าวยศกิติฟัง ท้าวยศกิติรับสั่งให้โหรทำนาย โหรทูลว่านางจะมีโอรสที่มีเกียรติยศสูงยิ่ง แต่นางจะต้องพลัดพรากจากบ้านเมือง พลัดพรากจากสามีและบุตรและเสียชีวิตด้วย ส่วนท้าวยศกิติก็สละราชสมบัติออกจากเมืองไป ต่อมากษัตริย์อีกเมืองหนึ่งไม่ปรากฏนาม ทราบว่าท้าวยศกิติเป็นกษัตริย์ที่มุ่งแต่รักษาศีลบำเพ็ญกุศล จึงยกทัพมาล้อมเมือง ท้าวยศกิติเห็นว่าถ้าสู้รบกันก็จะสูญเสียชีวิตทั้งสองฝ่าย จึงสั่งสอนเสนาอำมาตย์ให้ละโลภะ โทสะ โมหะ ยึดมั่นในพระรัตนตรัย แล้วกล่าวอำลานางศิริมดีออกป่าไปบวชเป็นฤาษี นางศิริมดีขอตามไปด้วย ทั้งคู่พากันไปบวชอยู่ในป่า กษัตริย์ที่มายึดเอาเมืองจัมปากได้ประกาศว่าถ้าผู้ใดทราบที่อยู่ท้าวยศกิติจะให้รางวัล ทำให้ท้าวยศกิติถูกทำร้ายและจับตัวไปขัง ฝ่ายนางศิริมดีคลอดบุตรเป็นชายรูปร่างงดงาม จึงตั้งชื่อโอรสตามชื่อตนกับสามีว่า สิริวิบุลกิติ เมื่อโตขึ้นนางศิริมดีเล่าเรื่องให้ฟัง  สิริวิบุลกิติได้ลามารดาเพื่อไปช่วยท้าวยศกิติเมื่อไปถึงท้าวยศกิติกำลังจะถูกประหารชีวิต สิริวิบุลกิติเข้าไปขอให้เพชฌฆาตประหารตนแทน เกิดเหตุมหัศจรรย์เมื่อเพชฌฆาตจะใช้ดาบประหารสิริวิบุลกิติดาบก็หัก เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้นำช้างไปเหยียบ ช้างกลับหันหน้าหนีไม่ยอมเหยียบ เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้ขุดหลุมและจุดไฟเผาสิริวิบุลกิติในหลุม ก็ปรากฏว่ามีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้นำสิริวิบุลกิติไปทิ้งลงเหว ด้วยบุญญานุภาพที่สร้างสมไว้ พญานาคจึงยกทัพมาช่วย แผ่นดินได้แยกเป็นช่องสูบเจ้าเมืองผู้โหดร้ายลงไปในนรกอเวจี ท้าวยศกิติได้มอบราชสมบัติให้โอรส สิริวิบุลกิติกลับไปป่าเพื่อรับมารดา แต่นางศิริมดีเศร้าโศกเสียใจจนเสียชีวิตไปก่อน








                                                ที่มา: https://www.google.com/urlsa=i&url=https%3A%2F%2Fwww

ผู้เเต่งกลบทสิริวิบุลกิติ

 ผู้เเต่งเเละความมุ่งหมายกลบทสิริวิบุลกิติ


           ผู้แต่งคือ หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) เป็นผู้แต่ง บอกนามผู้แต่งไว้ตอนท้ายบทแรกซึ่งเขียนเป็นกลบท ว่า

                    ตั้งความเพิ่มเติมความเพียรเป็นพุทธา              มุ่งจักเพื่อเมื้อจักพาพวกเวไนย                   
                    เข้าสู่ห้องของสุขให้ได้ถาพร                                ขุดนิวาศขาดนิวรณ์มรณ์วิไสย
                   จงช่วยป้องจ้องชูปิดมหิศรไทย                          จัดปัญญาจาเป็นใหญ่ในทางกลอน
                   เลื่องทั้งชื่อลือทั่วเชิดจงเลิศหมาย                        เหมือนพงษ์ปราชญ์มาตรภิปรายเปรียบไกรศร
                   ใจประสิทธิ์จิตรประสงค์จํานงกลอน                 จงถาวรจรถึงวันห้าพันปี
                   ข้าชื่อเซ่งเขียนชื่อซ้องจองนามหมาย                  ลําไว้ชื่อลือไว้ชายไว้ศักดิ์ศรี
                   พระบัณฑลภูลบันเทิงพระไทยทวี                    ตั้งยศแสงแต่งยศศรีหลวงปรีชา
                   พินิจดูภูวนารถได้ให้ศักดิ์แสง                            ตามทํานองต้องตําแหน่งเป็นโหรหา
                   แจ้งซึ่งอรรถจัดซึ่งองค์ชาดกมา                           ยกคาถังยังคาถาชักบาศีฯ


          ได้ทราบตามเนื้อความที่เขียนไว้ว่าผู้แต่งคือ หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) เป็นโหรในกรมพระราชวังบวรฯ แต่ไม่ทราบว่าเป็นวังหน้าหรือวังหลังเพราะระบุแต่เพียงว่า พระบัณฑลภูลบันเทิงพระไทยทวี ตั้งยศแสง แต่งยศศรีหลวงปรีชา เท่านั้น   นอกจากจะบอกความมุ่งหมายไว้ตามข้อความที่กล่าวแล้ว หลวงศรีปรีชายังบอกความมุ่งหมายไว้ใน คุณบท ต่อไปว่า            

       เดชกุศลผล ตนข้าแปล แก้คําภีร์ ที่ชาฏก, ยกจากอรรถ จัดปัญญาส ชาติโพธิสัตว์ คัดประจง, ลง เป็นกลอน ก่อนจากอรรถ จัดเป็นไทย ใส่ด้วยบท, จดลิลิต คิดเป็นฉันท์ ผันเป็นโคลง โยงเป็นกาพย์, อาบคุณบท หมดตัวสม ชุมนุมกลอน ซ้อนบาพ, มีคําไทย ใส่ประกอบ สอบตํารา หาคําภีร์, อสิตธาตุ ราชฤกษ์ เบิกพยากรณ์ ผ่อนเข้าหมด, จดหาผล ชนหญิงชาย หมายเป็นแบบ แอบอ้างอรรถ, จัดเข้าสิน จินดามุนี มีเสร็จสุด สมุดเล่มหนึ่ง, ถึงเล่มสอง ต้องเล่มสาม ตามเล่มสี มีเล่มห้า, ข้าประสงค์ จงสําเร็จ เสร็จ เป็นพระ ละกิเลศ, เฉทประหาน ผลาญราคิน สิ้นโทสัง ทั้งโมหันธ์, ปันกองบาป ปราบโลภะ ละทิฏฐิ วิจิกิจฉะ จิตรประเจิด เปิดห้องแก้ว แผ้วนิพพาน ญาณสัพพัญ, ปัญญาธิกะ ชนะแก่มาร การปรารถนา ข้า จงประสิทธิ, คิดจงประสาท มาตรจงสําเร็จ เสร็จแก่โพธิญาณ ในชาติอวสาน ดังจิตรคิดมีฯ

      คําอธิษฐานซึ่งแสดงถึงความมุ่งหมายในกลบทสิริวิบุลกิติ เป็นไปในทํานองเดียวกับผู้ที่เขียนเรื่อง กี่ยวกับศาสนาหรือเรื่องชาดกทั้งหลายตามความเชื่อทางศาสนาในกุศลกรรมที่พึงจะได้รับ











สรุป

สรุป กลบทสิริวิบุลกิติ ประวัติและที่มา            กลบทสิริวิบุลกิตติเป็นวรรณคดีที่เป็นหนังสือกลอนเรื่องแรกในสมัยอยุธยา ได้เค้าโคร...