๑.
ความเชื่อทศพิธราชธรรม
ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องทศพิธราชธรรมในตอนที่ท้าวยศกิติจึงรับสั่งแก่มเหสีและบรรดา สนมหมื่นหกพันนางว่า
หากใครมีโอรสก็จะได้เลื่อนฐานะเป็นเอกอัครมเหสี
นางศิริมดีได้สมาทานศีลและตั้งสัจอธิษฐานว่าหากรักษาศีลได้ไม่บกพร่องขอให้ได้มีโอรสดังเช่นในอดีตมีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ทรงเป็นตัวอย่างของคุณธรรมสิบประการของผู้ปกครองคือพระเจ้าอโศกมหาราช
(พ.ศ. ๒๓๙-พ.ศ. ๓๑๑) ซึ่งปกครองอินเดียมา ๔๑ ปี
ในช่วงต้นของรัชกาลทรงเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ชนะการต่อสู้หลายครั้งและยังคงขยายอาณาจักรอินเดียในช่วงแปดปีแรกของการครองราชย์ของพระองค์
หลังจากการสู้รบอย่างนองเลือด ครั้งหนึ่งกษัตริย์ได้ทรงเล็งเห็นชัยชนะของกองทัพของพระองค์และได้ทรงเห็นการสังหารรอบ
ๆ พระองค์อย่างมีชื่อเสียงแล้วทรงตรัสออกมาว่า "ข้าฯได้ทำอะไรไปแล้ว?" ต่อจากนั้นเขาเลื่อมใสพระพุทธศาสนา
เป็นที่รู้จักในนาม 'ธรรมาโศก' หรือ
"อโศกผู้ถือธรรมะ" พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการโปรดสัตว์
มีการสร้างโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยเพื่อให้ผู้คนและสัตว์
และสร้างระบบชลประทานเพื่อการค้าและการเกษตร
พระราชายังสละการใช้ความรุนแรงยุติการสู้รบทางทหารกับเพื่อนบ้านของพระองค์แทนที่จะส่งพระภิกษุและแม่ชีไปต่างประเทศเพื่อเผยแผ่คำสอนทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับภูมิปัญญาและความเมตตา
อันที่จริงพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชที่เป็นพระภิกษุและภิกษุณีพาพระพุทธศาสนาไปยังศรีลังกาซึ่งยังคงเป็นความเชื่อที่โดดเด่นมาจนถึงทุกวันนี้
นี่ไม่ได้เป็นการบอกว่าพระองค์ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาด้วยพระราชทรัพย์ของศาสนาอื่น
ๆ อย่างไรก็ตามในขณะที่พระองค์ยังทรงสนับสนุนความอดทนและความเข้าใจระหว่างลัทธิต่าง
ๆ และกลุ่มชาติพันธุ์
พระอโศกมหาราชนั้นเป็นที่จดจำของบรรดาพุทธศาสนิกชนและผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธเหมือนเป็นตัวอย่างของผู้ปกครองที่มีความเห็นอกเห็นใจและความยุติธรรมผู้ซึ่งอาศัยอยู่ตามคุณธรรมของผู้ปกครองทั้งสิบประการ
๒.ความเชื่อเรื่องความกตัญญู
เเหล่งที่มา
1..ttps://www.dol.go.th/ethics/Pages/%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%
ที่มา : https://sites.google.com/site/khanikhm12prakar/3-ktayyu-tx-phx-mae-phu-pkkhrxng-khruba-xacary
ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องความกตัญญูในตอนที่สิริวิบุลกิติได้ลามารดาเพื่อไปช่วย
ท้าวยศกิติเมื่อไปถึงท้าวยศกิติ์กำลังจะถูกประหารชีวิต
สิริวิบุลกิติเข้าไปขอให้เพชฌฆาตประหารตนแทน
เกิดเหตุมหัศจรรย์เมื่อเพชฌฆาตจะใช้ดาบประหารสิริวิบุลกิติดาบก็หัก
เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้นำช้างไปเหยียบ ช้างกลับหันหน้าหนีไม่ยอมเหยียบ
เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้ขุดหลุมและจุดไฟเผาสิริวิบุลกิติในหลุม
ก็ปรากฏว่ามีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้นำสิริวิบุลกิติไปทิ้งลงเหว
ด้วยบุญญานุภาพที่สร้างสมไว้
กตัญญู
เป็นธรรมอันเป็นมงคลที่ ๒๕ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้โดยเน้นให้นำไปพัฒนาคุณสมบัติของคนดีแปลตามตัวหนังสือคือผู้รู้ว่า
คนอื่นทำความความดีอะไรไว้แก่ตนบ้าง เอาความหมายสั้นๆ ว่า "ผู้รู้คุณคน"
การรู้บุญคุณคนหรือรู้อุปการคุณที่ผู้อื่นทำให้ตนเองนับถือเป็นหลักแห่งความยุติธรรมและความเป็นธรรมอย่างหนึ่งในสังคมมนุษย์
เพราะเป็นการสอดคล้องกับหลักคำสอนว่า การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ มีคนทำดีให้กับเราแล้ว
และเราได้รับผลประโยชน์จากการทำดีของเขา เป็นต้นว่า ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข
แต่เรารับรู้แต่ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่รับรู้คุณความดีของเขา
ย่อมถือได้ว่าไม่ยุติธรรมต่อกัน
๓.ความเชื่อเรื่องพญานาคราช
ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องพญานาคราช ในตอนที่พญานาคจึงยกทัพมาช่วย
แผ่นดินได้แยกเป็นช่องสูบเจ้าเมืองผู้โหดร้ายลงไปในนรกอเวจี
ตำนานความเชื่อเรื่องพญานาคมีความเก่าแก่มาก
ดูท่าว่าจะเก่ากว่าพุทธศาสนาอีกด้วย สืบค้นได้ว่ามีต้นกำเนิดมาจากอินเดียใต้
ด้วยเหตุจากภูมิประเทศทางอินเดียใต้เป็นป่าเขาจึงทำให้มีงูอยู่ชุกชุม
และด้วยเหตุที่งูนั้นลักษณะทางกายภาพคือมีพิษร้ายแรง
งูจึงเป็นสัตว์ที่มนุษย์ให้การนับถือว่ามีอำนาจ ชาวอินเดียใต้จึงนับถืองู
๔.ความเชื่อเรื่องความไม่จีรัง
ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องความไม่จีรังในตอนที่โหรทูลว่านางจะมีโอรสที่มีเกียรติยศสูงยิ่ง
แต่นางจะต้องพลัดพรากจากบ้านเมือง พลัดพรากจากสามีและบุตรและเสียชีวิตด้วยและตอนที่
ท้าวยศกิติได้มอบราชสมบัติให้โอรส สิริวิบุลกิติกลับไปป่าเพื่อรับมารดา
แต่นางศิริมดีเศร้าโศกเสียใจจนเสียชีวิตไปก่อน
เราต่างรู้ว่าชีวิตคนเรา ไม่จีรังยั่งยืน
มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง
หรือชื่อเสียง ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ไม่มีสักอย่างที่ยังคงอยู่ตลอดไป
แม้ตัวได้ลาจากโลกนี้ไปแล้ว ถึงจะเป็นบุคคลสำคัญระดับโลกก็ตาม
คนอาจจะพูดถึงในช่วงแรกๆ แต่หลังจากนั้นทุกอย่างก็จะเลือนหายไปช้าๆ
เราควรปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อเตรียมรับมือกับความไม่จีรังยั่งยืน
เเหล่งที่มา
1..ttps://www.dol.go.th/ethics/Pages/%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%
2..https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/122431.html
4. https://www.sanook.com/horoscope/17105
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น