วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2563

สรุป

สรุป กลบทสิริวิบุลกิติ






ประวัติและที่มา   
        กลบทสิริวิบุลกิตติเป็นวรรณคดีที่เป็นหนังสือกลอนเรื่องแรกในสมัยอยุธยา ได้เค้าโครงมาจาก สิริวิปุลกิติชาดก ซึ่งเป็นชาดกหนึ่งในปัญญาสชาดก

ผู้แต่ง
   หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) เป็นผู้แต่ง มีตำแหน่งเป็นโหรในกรมพระราชวังบวรฯ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดว่าเป็นพระองค์ใด

วีธีการแต่งและความมุ่งหมายในการแต่ง
     เป็นกลอนกลบท 86 ชนิด เป็นวิธีการแต่งกลอนที่ยากและซับซ้อนโดยเพิ่มข้อบังคับในการแต่งให้ดียิ่งขึ้นกว่ากลอนธรรมดา ทำให้แต่งยากขึ้น และเป็นทางแสดงฝีมือของผู้แต่ง
     ความมุ่งหมาย เพื่อเป็นพุทธบูชา และเป็นอานิสงส์ให้สำเร็จอรหันต์

เนื้อเรื่อง
      ดำเนินเรื่องตามปัญญาสชาดก พระโพธิสัตว์มาเสวยชาติเป็นโอรสท้าวยศกิติและนางศิริมดี แห่งนครจัมบาก เมื่อนางศิริมดีทรงพระครรภ์ ทรงพระสุบินว่า ดาบสเหาะนำแก้วมาให้ โหรทำนายว่าจะได้ โอรส แต่พระสวามีจะต้องพลัดพรากจากเมือง ต่อมาท้าวพาลราชยกทัพมาล้อมเมือง เพื่อมิให้มีการรบพุ่งเป็นที่เดือดร้อนแก่ไพร่บ้านพลเมือง ท้าวยศกิติกับมเหสีเสด็จหนีไปผนวชที่เขาวิบุลบรรพต แต่ก็ถูกพรานป่าหักหลัง นำศัตรูไปจับท้าวยศกิติมาทรมาน เมื่อโอรสคือสิริวิบุลกิติเจริญวัย จึงติดตามไปและขอรับโทษแทนบิดา แต่จะประหารกุมารอย่างไรก็ไม่ตาย ท้าวพาลราชกลับถูกธรณีสูบ สิริวิบุลกิติก็ครองเมืองเป็นสุข ในตอนท้ายเรื่อง เป็นธรรมดาของชาดก ซึ่งย่อมจบลงด้วยดี

ความเชื่อ
      ความเชื่อทศพิธราชธรรม
      ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องทศพิธราชธรรมในตอนที่ท้าวยศกิติจึงรับสั่งแก่มเหสีและบรรดา  สนมหมื่นหกพันนางว่า หากใครมีโอรสก็จะได้เลื่อนฐานะเป็นเอกอัครมเหสี นางศิริมดีได้สมาทานศีลและตั้งสัจอธิษฐานว่าหากรักษาศีลได้ไม่บกพร่องขอให้ได้มีโอรส
        ความเชื่อเรื่องความกตัญญู
        ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องความกตัญญูในตอนที่สิริวิบุลกิติได้ลามารดาเพื่อไปช่วยท้าวยศกิติเมื่อไปถึงท้าวยศกิติ์กำลังจะถูกประหารชีวิต สิริวิบุลกิติเข้าไปขอให้เพชฌฆาตประหารตนแทน เกิดเหตุมหัศจรรย์เมื่อเพชฌฆาตจะใช้ดาบประหารสิริวิบุลกิติดาบก็หัก เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้นำช้างไปเหยียบ ช้างกลับหันหน้าหนีไม่ยอมเหยียบ เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้ขุดหลุมและจุดไฟเผาสิริวิบุลกิติในหลุม ก็ปรากฏว่ามีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ เพชฌฆาตได้รับคำสั่งให้นำสิริวิบุลกิติไปทิ้งลงเหว ด้วยบุญญานุภาพที่สร้างสมไว้
      ความเชื่อเรื่องพญานาคราช
      ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องพญานาคราช ในตอนที่พญานาคจึงยกทัพมาช่วย แผ่นดินได้แยกเป็นช่องสูบเจ้าเมืองผู้โหดร้ายลงไปในนรกอเวจี
       ความเชื่อเรื่องความไม่จีรัง
       ในเรื่องกลบลสิริวิบุลกิติมีความเชื่อในเรื่องความไม่จีรังในตอนที่โหรทูลว่านางจะมีโอรสที่มีเกียรติยศสูงยิ่ง แต่นางจะต้องพลัดพรากจากบ้านเมือง พลัดพรากจากสามีและบุตรและเสียชีวิตด้วยและตอนที่ ท้าวยศกิติได้มอบราชสมบัติให้โอรส ศิริวิบุลกิติกลับไปป่าเพื่อรับมารดา แต่นางศิริมดีเศร้าโศกเสียใจจนเสียชีวิตไปก่อน

คุณค่า
๑.เป็นตัวอย่างการเขียนคำกลอนที่พลิกแพลงและเป็นแบบอย่างของการเขียนกลบทในสมัยต่อมานอกจากนี้ยังมีความรู้เรื่องโหราศาสตร์แทรกอยู่ด้วย
๒.เพื่อเป็นพุทธบูชา และเป็นอานิสงส์ให้สำเร็จอรหันต์
๓.เป็นวรรณคดีที่แต่งเป็นกลอนกลบทเรื่องแรกในวรรณคดีไทย ผู้แต่งใช้กลบทดำเนินเรื่องทั้งสิ้นซึ่งนับว่าแปลกประมวลกลบททั้ง ๘๖ ชนิด นับเป็นตำราของการแต่งกลบทได้เป็นอย่างดี เนื้อเรื่องดำเนินตาม บัญญาสชาดก ชื่อวิบุลกิติชาดก
๔.เป็นวรรณคดีเล่มเดียวที่ผู้แต่งสามารถรวบรวมกลบทไว้มากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สรุป

สรุป กลบทสิริวิบุลกิติ ประวัติและที่มา            กลบทสิริวิบุลกิตติเป็นวรรณคดีที่เป็นหนังสือกลอนเรื่องแรกในสมัยอยุธยา ได้เค้าโคร...